Welcome to blogger of Miss Prapaporn Sainet.

วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2561

Record 13
Tuesday 3 April  2018

สอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ (วันพุธ) และ (วันพฤหัสบดี) ของแต่ละหน่วย

กิจกรรมเสริมประสบการณ์
หน่วย ผลไม้ 
วันพุธ (ประโยชน์ของผลไม้)
วัตถุประสงค์
     1. บอกประโยชน์ของผลไม้ได้
     2. สนทนากับครูและเพื่อนๆได้
     3. แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น
     4. ฝึกทักษะกระบวนการคิด    
สาระที่ควรเรียนรู้
ประโยชน์ของผลไม้
     1. เป็นอาหารให้กับคนและสัตว์
     2. มีวิตามิน ช่วยบำรุงส่วนต่างๆ ของร่างกาย และมีใยอาหาร ช่วยในระบบขับถ่าย
     3.เราจะถนอมอาหารไว้กินนานด้วยวิธี การอบแห้ง ตาก
     4. สร้างอาชีพและสร้างรายได้ เช่น ขายผลไม้ ชาวสวน และนำไปแปรรูปเพื่อส่งออก  
ประสบการณ์สำคัญ
     1. การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น
     2. การแสดงความรู้สึกด้วยคำพูด
     3. การมีโอกาสได้รับความรู้สึก ความสนใจ ความต้องการของตนเองและผู้อื่น
     4. การพูดกับผู้อื่นเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเอง     
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
     1. ครูเล่านิทานให้เด็กฟัง เรื่อง ผลไม้ดีมีประโยชน์    
ขั้นสอน
     2. ครูและเด็กร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับนิทานโดยใช้คำถาม ดังนี้
         - ในนิทานมีผลไม้อะไรบ้าง
         - เด็กๆรู้จักผลไม้ชนิดไหนอีกบ้าง
         - ในนิทานผลไม้มีประโยชน์อย่างไรบ้าง
         - นอกใจนิทานเด็กๆคิดว่าผลไม้มีประโยชน์อะไรบ้าง
         - ในนิทานมีการถนอมผลไม้อย่างไรบ้าง
         - นอกจากในนิทานเด็กๆมีวิธีถนอมผลไม้ด้วยวิธีใดบ้าง
     3. ครูถามความรู้เดิมเด็กเกี่ยวกับประโยชน์และวิธีถนอมผลไม้
     4. ครูเขียนลง Mind Mapping ประโยชน์ผลไม้และวิธีถนอมอาหาร   



  
ขั้นสรุป
     5. ครูและเด็กร่วมกันสรุปประโยชน์และวิธีถนอมผลไม้ ครูให้ตัวแทนเด็กออกมาจับคู่ประโยชน์ผลไม้ 


  
สื่อ / แหล่งการเรียนรู้
     1. นิทาน เรื่อง ผลไม้ดีมีประโยชน์
     2. Mind Mapping ประโยชน์ผลไม้
     3. Mind Mapping วิธีถนอมอาหาร   
การประเมิน
สังเกต
     1 .การบอกประโยชน์ของผลไม้
     2. การสนทนากับครูและเพื่อนๆ
     3. การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น
     4. การทักษะกระบวนการคิดในการตอบคำถาม
การบูรณาการ
     - คณิตศาสตร์
     - สุขศึกษา
     - ภาษา



คำแนะนำจากอาจารย์ผู้สอน
     - เรื่องการถนอมอาหาร สามารถสอนได้อีก 1 วัน
     - ให้เด็กเลือกผลไม้ที่เด็กอยากทำ เพื่อให้เด็กได้เตรียมผลไม้มาทำเครื่องดื่มในวันพรุ่งนี้ของการสอน
     - การเข้าสู่การสอนควรมีภาพมาให้เด็กได้สังเกตจริงๆ
     - การเล่านิทานในขั้นนำ สนทนากับเด็กและถามเด็กว่า ในนิทานมีผลไม้อะไรบ้าง
     - การทำสื่อการสอน ควรใช้สื่อที่แข็งแรง ประหยัด และสามารถใช้งานได้หลายๆ ครั้ง
     - หลังจากการสรุป ต้องมีการทบทวน การจับคู่


กิจกรรมเสริมประสบการณ์
หน่วย ตัวฉัน (วันพุธ) 
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
     1. ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลง  ฉันรักร่างกายของฉัน
     2. ครูและเด็กสนทนาเกี่ยวกับเพลง
ขั้นสอน
     3. ครูนำแผ่นชาร์ทออกมา กระตุ้นเด็กด้วยคำถาม เช่น เด็กๆคิดว่าเราจะดูแลรักษาร่างกายของเราได้ด้วยวิธีใดบ้าง เป็นต้น 
     4. ครูและเด็กร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้ในเรื่องการดูแลรักษาร่างกาย และจดบันทึกสิ่งที่เด็กบอกเล่าลงในแผ่นชาร์ท
ขั้นสรุป
     5. ครูและเด็กร่วมกันทบทวนความรู้เรื่องการดูแลร่างกายของเรา


คำแนะนำจากอาจารย์ผู้สอน
     - สื่อในการสอน ไม่ควรใช้กระดาษสีสะท้อนแสง
     - การสาธิตในขั้นตอนการล้างมือ ครูทำให้ดูแล้วให้เด็กทำตามไปด้วย


กิจกรรมเสริมประสบการณ์
หน่วย สัมผัสทั้ง 5 (วันพฤหัสบดี)
วัตถุประสงค์
     1. เด็กสนทนาเรื่องการได้ยินร่วมกันได้
     2. เด็กเปรียบเทียบเสียงที่ได้ยินได้
     3. เด็กบอกแหล่งกำเนิดเสียงได้    
สาระที่ควรเรียนรู้
แหล่งกำเนิดเสียง
     -  ธรรมชาติ
     -  มนุษย์สร้างขึ้น  
ประสบการณ์สำคัญ
ด้านร่างกาย
     1. การรักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นในกิจวัตรประจำวัน
ด้านอารมณ์-จิตใจ
     2. การแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบเสียงดนตรี
ด้านสังคม
     3. การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น
ด้านสติปัญญา
     4. การรู้จักสิ่งต่างๆด้วยการมอง ฟัง สัมผัส  ชิมรสและดมกลิ่น
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
     1. ครูและเด็กๆร่วมกันร้องเพลง ตาดูหูฟัง

เรามีตาไว้ดู เรามีหูไว้ฟัง
คุณครูท่านสอนท่านสั่ง
ต้องตั้งใจฟัง ต้องตั้งใจดู

     2. ครูและเด็กๆร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับการได้ยิน    
ขั้นสอน
     3. ครูให้เด็กๆฟังเสียงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ดังนี้ ฝนตก ฟ้าผ่า นกร้อง แล้วให้เด็กๆบอกว่าได้ยินเสียงอะไร จากนั้นบันทึกผล
     4. ครูให้เด็กๆฟังเสียงที่เกิดขึ้นจากมนุษย์ ดังนี้ ร้องเพลง ดนตรี เสียงพูด แล้วให้เด็กๆบอกว่าได้ยินเสียงอะไร จากนั้นบันทึกผล  


     5. ครูให้เด็กๆแยกเสียงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและเกิดขึ้นจากมนุษย์  


ขั้นสรุป
     6. ครูสนทนาร่วมกันกับเด็กเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดเสียงว่ามีอะไรบ้าง เสียงที่เรียนไปมีเสียงอะไรบ้างและนอกเหนือจากที่เรียนไปมีเสียงอะไรอีกบ้าง     
สื่อ / แหล่งการเรียนรู้
     - ชาร์จเพลง
     - เสียงต่างๆ
     - ตารางบันทึกผล
     - ตารางแยกแหล่งกำเนิดเสียง    
การประเมิน
สังเกต 
     1. เด็กสามารถสนทนาเรื่องการได้ยินร่วมกันได้
     2. เด็กสามารถเปรียบเทียบเสียงที่ได้ยินได้
     3. เด็กสามารถบอกแหล่งกำเนิดเสียงได้
การบูรณาการ
     - วิทยาศาสตร์



คำแนะนำจากอาจารย์ผู้สอน
     - การเขียนแผนการสอน วัตถุประสงค์ต้องสัมพันธ์และสอดคล้องกัน
     - สาระการเรียนรู้ ต้องอธิบายให้ละเอียด
     - ประสบการณ์สำคัญ ต้องเลือกให้สอดคล้องกับเรื่องที่สอน
     - สื่อการสอนควรมีภาพประกอบมาติด ไม่ควรมีแต่ตัวหนังสือเพียงอย่างเดียว
     - สื่อที่เป็นเสียงเพลง ควรนำเสียงที่มีความชัดเจน เด็กสามารถฟังได้ง่าย


กิจกรรมเสริมประสบการณ์
หน่วย ใต้ร่มเงาไม้
วันพฤหัสบดี (ประโยชน์ของต้นไม้)
วัตถุประสงค์
     1. เพื่อให้เด็กบอกประโยชน์ของต้นไม้ได้อย่างน้อย 5 อย่าง
     2. เพื่อให้เด็กร่วมสนทนากับครูได้
     3. เด็กตอบคำถามได้
สาระที่ควรเรียนรู้
     ต้นไม้มีประโยชน์หลายด้านทั้งต่อตนเอง ต่อโลก และในเชิงพาณิชย์ ได้แก่ ไม้แปรรูป เป็นต้น  
ประสบการณ์สำคัญ
ด้านร่างกาย
     - การประสานสัมพันธ์ระหว่างตากับมือ
ด้านอารมณ์และจิตใจ
     - การร่วมกิจกรรมด้วยความสนุกสนาน
ด้านสังคม
     - การเล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่น
ด้านสติปัญญา
     - การแสดงความรู้สึกด้วยคำพูด       
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
     1. ครูแจกจิ๊กซอว์รูปโต๊ะเก้าอี้ให้เด็กออกมาต่อให้สมบูรณ์ที่กระดานหน้าห้อง
     2. ครูสนทนาเกี่ยวกับจิ๊กซอว์รูปโต๊ะ เด็กๆทราบไหมว่าโต๊ะเก้าอี้ทำมาจากอะไร”                                
ขั้นสอน
     3. ครูบอกประโยชน์ของต้นไม้ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ประโยชน์ต่อตนเอง  ประโยชน์ต่อโลกประโยชน์
เชิงพาณิชย์                                     
     4. ครูให้เด็กออกมาเลือกรูปภาพที่ครูเตรียมไว้แล้วให้เด็กๆช่วยกันดูว่ารูปภาพที่เด็กๆเลือกมาเป็นประโยชน์ในด้านไหนแล้วนำมาติดลงในตาราง                                                                 
ขั้นสรุป
     5. ครูและเด็กร่วมกันสรุปประโยชน์ของต้นไม้  “ครูถามเด็กๆว่าสรุปแล้วต้นไม้สามารถนำมาทำอะไร
ได้บ้าง”                              
สื่อ / แหล่งการเรียนรู้
     - จิ๊กซอว์รูปโต๊ะเก้าอี้
     - แผ่นบันทึกประโยชน์ของต้นไม้   
การประเมิน
สังเกต
     1. เด็กบอกประโยชน์ของต้นไม้ได้อย่างน้อย 5 อย่าง
     2. การตอบคำถามการแลกเปลี่ยนความคิดของเด็ก
     3. การสนทนาถามเด็ก
การบูรณาการ
     - ภาษา
     - วิทยาศาสตร์
     - คณิตศาสตร์



คำแนะนำจากอาจารย์ผู้สอน
     - สื่อประกอบประโยชน์ของต้นไม้ ต้องมีภาพมาให้เด็กสังเกต
     - การนำภาพไปติดในตารางให้เด็กเป็นคนเลือกเอง จากที่ครูเตรียมไว้
     - ประโยชน์ของต้นไม้ในเชิงพาณิชย์เป็นคำที่ยากเกินไปสำหรับเด็ก ควรใช้คำที่ง่ายและเด็กเข้าใจ
        เช่น เกิดอาชีพ เป็นต้น
     - ครูถามคำถามเด็ก เพื่อให้เด็กได้ตอบ จากสิ่งที่เด็กเห็น ได้ยินจากครู ผู้ปกครอง และได้รับจาก
       ประสบการณ์เดิม
     - จังหวะของการสอนต้องอาศัยภาพเป็นตัวนำในการสอน


กิจกรรมเสริมประสบการณ์
หน่วย ตัวฉัน
วันพฤหัสบดี (การปฏิบัติตนให้มีพลานามัยที่ดี)



คำแนะนำจากอาจารย์ผู้สอน
     - จังหวะการสอนต้องอาศัยภาพเป็นตัวนำในการสอน
     - ให้เด็กสังเกตภาพแล้วสนทนากับเด็กว่า ภาพที่เด็กๆ เห็นเป็นภาพอะไร
     - วิธีการบันทึก สามารถทำได้โดยการนำภาพไปติดในกรอบ และยังสามารภนำภาพไปติดบนผัง
        Mind Mapping ได้อีก
     

กิจกรรมเสริมประสบการณ์
หน่วย อาหารดีมีคุณค่า
วันพฤหัสบดี (Cookking หมูสร่ง)
วัตถุประสงค์
     1. เด็กบอกวัตถุดิบในการทำหมูสร่งได้
     2. เด็กบอกขั้นตอนการทำหมูสร่งได้
     3. เด็กบอกรสชาติของหมูสร่งได้    
สาระที่ควรเรียนรู้
     วัตถุดิบ ขั้นตอนในการทำและรสชาติหมูสร่ง
ประสบการณ์สำคัญ
ด้านร่างกาย
     - การปฏิบัติตนตามสุขอนามัย
ด้านอารมณ์และจิตใจ
     - การร้องเพลง
ด้านสังคม
     - การเล่นและการทำงานร่วมกับผู้อื่น
ด้านสติปัญญา
     - การรู้จักสิ่งต่างๆด้วยการมอง ฟัง สัมผัส ชิมรสและดมกลิ่น         
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
     - ครูและเด็ก ๆ ร่วมกันทำกิจกรรมเปิดภาพปริศนา
ขั้นสอน
     - ครูและเด็ก ๆ สนทนาเกี่ยวกับหมูสร่ง เช่น
        “เด็กๆรู้จักหมูสร่งไหมคะ
        “เด็กๆเคยรับประทานหมูสร่งไหมคะเป็นต้น
     - ครูและเด็กๆร่วมกันอ่านวัตถุดิบ อุปกรณ์และวิธีการทำหมูสร่ง
     - ครูสาธิตวิธีการทำหมูสร่ง
     - ครูให้เด็กแบ่งกลุ่ม4กลุ่ม  ครูขอตัวแทนออกมารับวัตถุดิบ อุปกรณ์
     - สมาชิกในกลุ่มร่วมมือกันทำหมูสร่ง
     - ครูขอตัวแทนของแต่ละกลุ่ม 1 คนออกมานำเสนอหมูสร่ง
ขั้นสรุป
     - ครูตั้งคำถามว่า 
       “วัตถุดิบในการทำหมูสร่งมีอะไรบ้าง?”  
       “หมูสร่งมีขั้นตอนในการทำอย่างไร?” 
       “รสชาติเป็นอย่างไร?”    
สื่อ / แหล่งการเรียนรู้
     - แผ่นชาร์ทวัตถุดิบและวัตถุดิบจริงในการทำหมูสร่ง
     - แผ่นชาร์ทอุปกรณ์และอุปกรณ์จริงในการทำหมูสร่ง
     - แผ่นชาร์ทขั้นตอนการทำหมูสร่ง   
การประเมิน
สังเกตจากการทำกิจกรรมของเด็ก
     1. เด็กสามารถบอกวัตถุดิบในการทำหมูโสร่งได้
     2. เด็กสามารถบอกขั้นตอนการทำหมูโสร่งได้
     3. เด็กบอกรสชาติของหมูโสร่งได้






คำแนะนำจากอาจารย์ผู้สอน
     - ต้องเตรียมอุปกรณ์วางไว้ให้พร้อมให้ครบทุกกลุ่ม
     - บอกสัดส่วนของวัตถุดิบให้ละเอียด
     - ตั้งประเด็นปัญหาให้เด็ก
     - การปั้นหมูสร่ง สามารถปั้นได้หลายรูปทรง ไม่จำเป็นต้องเป็นทรงกลมอย่างเดียว


ทักษะ / Skills
     - ทักษะการฟัง
     - ทักษะการสอน
     - ทักษะการเขียน
     - ทักษะการสังเกต
     - ทักษะการเชื่อมโยง
     - ทักษะการร้องเพลง
     - ทักษะการต่อยอด
เทคนิคการสอน / Teaching Techniques
     - การให้คำแนะนำ
     - การสาธิต
     - ให้นักศึกษาปฏิบัติด้วยตนเอง
การนำไปประยุกต์ใช้ / Application
     สามารถนำเทคนิคการสอนของเพื่อนแต่ละกลุ่ม ไปปรับปรุงและนำมาปรับใช้ในการต่อยอดได้


การประเมิน / Evaluation
     ประเมินตนเอง    เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการสอน
                                ของเพื่อน
     ประเมินเพื่อน      เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการสอนของเพื่อน
     ประเมินอาจารย์   อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ให้คำแนะนำที่ดีและละเอียดชัดเจน




Record 12
Monday 2 April  2018



เนื้อหาการเรียนการสอน / Teaching content

     การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนตามความสนใจ ความสามารถ 
และความต้องการ โดยการเชื่อมโยงสาระการเรียนรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันและสอดคล้องกับการทำงานสมองของเด็ก

รูปแบบการเรียนรู้
1. Brain Based Learning หรือ BBL
     Brain Based Learning  การใช้ความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับสมองเป็นเครื่องมือในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้และกระบวนการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างศักยภาพสูงสุดในการเรียนรู้ของมนุษย์ โดยเชื่อว่าโอกาสทองของการเรียนรู้อยู่ระหว่างแรกเกิด – 10 ปี 
     การจัดการเรียนรู้ตามหลักการพัฒนาสมอง หรือ BBL (Brain-Based Learning) เป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการด้านโครงสร้างและการทำงานของสมอง เหมาะสมกับทุกช่วงวัย ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาถึงวัยชรา หลักการสำคัญในการเรียนรู้ของสมองเด็กปฐมวัยและประถมศึกษา คือ เล่นคือเรียน เรียนคือเล่นต้องเรียนด้วยความเข้าใจมากกว่าความจำ เรียนรู้จากการสัมผัสจับต้องของจริงไปสู่สัญลักษณ์ ด้วยอารมณ์ที่เปิดรับการเรียนรู้ และต้องเรียนรู้ด้วยการลงมือทำ (active learning) แทนการนั่งฟังบรรยายเพียงอย่างเดียว (passive learning)




2. EF Executive Functions
     คือ กระบวนการทางความคิดในส่วน "สมองส่วนหน้า" ที่เกี่ยวข้องกับความคิด ความรู้สึก การกระทำ เป็นความสามารถของสมองที่ใช้บริหารจัดการชีวิตในเรื่องต่างๆ



สำหรับกลุ่มทักษะ EF ที่สำคัญมีทั้งหมด 9 ด้าน
1.ทักษะความจำที่นำมาใช้งาน (Working Memory) 
     คือทักษะจำหรือเก็บข้อมูลจากประสบการณ์ที่ผ่านมา และดึงมาใช้ประโยชน์ตามสถานการณ์ที่พบเจอ เด็กที่มีเวิร์กกิ้ง เมมโมรีดี ไอคิวก็จะดีด้วย
2.ทักษะการยับยั้งชั่งใจ-คิดไตร่ตรอง (Inhibitory Control) 
     คือความสามารถในการควบคุมความต้องการของตนเองให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เด็กที่ขาดความยับยั้งชั่งใจจะเหมือน "รถที่ขาดเบรก" อาจทำสิ่งใดโดยไม่คิด มีปฏิกิริยาในทางที่ก่อให้เกิดปัญหาได้
3.ทักษะการยืดหยุ่นความคิด (Shift Cognitive Flexibility) 
     คือความสามารถในการยืดหยุ่นหรือปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ ไม่ยึดตายตัว
4.ทักษะการใส่ใจจดจ่อ (Focus) 
     คือความสามารถในการใส่ใจจดจ่อ มุ่งความสนใจอยู่กับสิ่งที่ทำอย่าง ต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่ง
5.การควบคุมอารมณ์ (Emotion Control) 
     คือ ความสามารถในการควบคุมแสดงออกทางอารมณ์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เด็กที่ควบคุมอารมณ์ตัวเอง ไม่ได้ มักเป็นคนโกรธเกรี้ยว ฉุนเฉียว และอาจมีอาการซึมเศร้า
6.การประเมินตัวเอง (Self-Monitoring) 
     คือการสะท้อนการกระทำของตนเอง รู้จักตนเอง รวมถึงการประเมินการงานเพื่อหาข้อบกพร่อง
7.การริเริ่มและลงมือทำ (Initiating) 
     คือ ความสามารถในการริเริ่มและลงมือทำตามที่คิด ไม่กลัวความล้มเหลว ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง
8.การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ (Planning and Organizing) 
     คือทักษะการทำงาน ตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย การวางแผน การมองเห็นภาพรวม ซึ่งเด็กที่ขาดทักษะนี้จะวางแผนไม่เป็น ทำให้งานมีปัญหา
9.การมุ่งเป้าหมาย (Goal-Directed Persistence) 
     คือ ความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย เมื่อตั้งใจและลงมือทำสิ่งใดแล้ว ก็มีความมุ่งมั่นอดทน ไม่ว่าจะมีอุปสรรคใดๆ ก็พร้อมฝ่าฟันให้สำเร็จ


ทดสอบสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ (วันพุธ) ของแต่ละหน่วย

กิจกรรมเสริมประสบการณ์
หน่วย อาหารดีมีคุณค่า  
วัตถุประสงค์
     1. เด็กสามารถตอบคำถามได้
     2. ร่วมกิจกรรมด้วยความสนใจ
     3. เด็กบอกชื่ออาหารได้
     4. เด็กสามารถแสดงความคิดเห็นได้
สาระที่ควรเรียนรู้
     การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น
ประสบการณ์สำคัญ
     1. บอกประโยชน์ของอาหารแต่ละประเภทได้
         ข้าว ให้พลังงาน
         เนื้อสัตว์ - ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
         ผัก - สร้างภูมิต้านทานเชื้อโรค
         ผลไม้ - บำรุงสุขภาพ
         ไขมัน - ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย    
กิจกรรมการเรียนรู้
     1. ครูเล่านิทานเรื่อง  อาหารหารหลัก 5 หมู่
     2. ครูและเด็กสนทนาเรื่องอาหาร5หมู่ในนิทาน
     3เด็กบอกชื่ออาหารที่รับประทานในตอนเช้าโดยใช้คำถามดังนี้
         - เมื่อเช้าเด็กๆทานอาหารอะไรบ้าง
     4ครูมีภาพอาหารประเภทต่างๆ และ ภาพคนที่รับประทานอาหาร 5 หมู่ เช่น เนื้อสัตว์ - ภาพคนวิ่ง
         เนื้อสัตว์ - คนใช้กล้ามเนื้ออย่างแข็งแรง
     5หาอาสาสมัครมาจับคู่ความสัมพันธ์ระหว่างอาหารกับประโยชน์ให้ถูกต้อง

     6. ครูและเด็กร่วมกันประโยชน์ของอาหาร     
สื่อ / แหล่งการเรียนรู้
     นิทานเรื่อง “อาหารหลัก5หมู่”   
การประเมิน
สังเกต
     1. การตอบคำถามจากครู
     2. การสนทนาและความคิดเห็น    



คำแนะนำจากอาจารย์ผู้สอน
     - การเล่านิทานในขั้นนำ ต้องมีฉากของนิทานประกอบ
     - ตัวละครของนิทาน ต้องมีชื่อตัวละครด้วย
     

กิจกรรมเสริมประสบการณ์
หน่วย ผีเสื้อ (ปัจจัยการดำรงชีวิต)



คำแนะนำจากอาจารย์ผู้สอน
     - ขั้นนำในการใช้เพลง ให้สนทนากับเด็กในเนื้อหาของเพลงหลังจากที่ร้องเพลงเสร็จแล้ว
        เช่น เด็กๆ คิดว่าผีเสื้อกินอะไรเป็นอาหาร แล้วนอกเหนือจากนี้ผีเสื้อกินอะไรเป็นอาหารอีกบ้าง
     - ขั้นสอน ให้เด็กนำภาพที่ครูเตรียมไว้ไปติดในวงจรชีวิตของผีเสื้อ


กิจกรรมเสริมประสบการณ์
หน่วย สัมผัสทั้ง 5 (หน้าที่ของอวัยวะ)
วัตถุประสงค์
     1. ร่วมสนทนากับครูได้และเพื่อนๆได้
     2. เปรียบเทียบการรับรู้รสชาติต่างๆ
     3. ร่วมกิจกรรมได้อย่างสนุกสนาน    
สาระที่ควรเรียนรู้
     การชิมรส   อาหารแต่ละชนิดจะมีรสชาติไม่เหมือนกันบางชนิดหวาน  เค็ม  เปรียว  เรารับรู้รสต่างๆได้โดยผ่านปุ่มเล็กๆที่ลิ้นของเรา
ประสบการณ์สำคัญ
     1. การร่วมสนทนาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
     2. การสังเกตสิ่งต่างๆ โดยใช้ประสาทสัมผัสด้วยการมอง ฟัง สัมผัส ชิมรสและดมกลิ่นอย่างเหมาะสม
     3. การแสดงอย่างสนุกสนานกับเรื่องตลก ขำขัน และเรื่องราว/เหตุการณ์ที่สนุกสนานต่างๆ    
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
     1. ครูใช้ปริศนาคำทายมาทายเด็กๆดังนี้
          ฉันเป็นใคร  อยู่ในปากคน  แลบเลียสับสน รสหวาน  เปรี้ยว  เค็ม (ลิ้น)    
ขั้นสอน
     2. ครูนำ น้ำตาล  มาให้เด็กๆชิม แล้วให้จำรสชาติที่ชิม ให้เด็กชิม น้ำเกลือและน้ำตาลละลายน้ำ
ให้เลือกและหยิบหมายเลข 1หรือหมายเลข 2 ที่มีรสชาตเดียวกันกับน้ำตาล 
         ครูนำ  เกลือผง  มาให้เด็กๆชิม แล้วให้จำรสชาติที่ชิม ให้เด็กชิม น้ำเกลือและน้ำมะนาวละลายน้ำ ให้เลือกและหยิบหมายเลข 1หรือหมายเลข 2 ที่มีรสชาตเดียวกันกับเกลือ    
ขั้นสรุป
     4. เด็กและครูร่วมกันสรุปเกี่ยวกับรสชาติโดยใช้คำถามดังนี้
         - ถ้าเรามองดูของในภาชนะจะบอกได้หรือไม่ว่ามีรสชาติอะไร  เราควรทำอย่างไร เพราะเหตุใด     
สื่อ / แหล่งการเรียนรู้
     1. ปริศนาคำทาย
     2. เกลือ น้ำตาล มะนาว
     3. ภาชนะ 3 ใบ   
การประเมิน 
สังเกต
     1. การสนทนาและการตอบคำถาม
     2. การร่วมกิจกรรม



คำแนะนำจากอาจารย์ผู้สอน
     - ต้องมีตารางบันทึกการชิมรสชาดิ หรือ ตารางนำเสนอข้อมูล
     - ยกตัวอย่างสิ่งที่จะให้เด็กชิม ใช้แค่ 1 คู่
     - ครูต้องสอนเด็กให้รู้จักการชิมที่ถูกต้อง หากชิมผิด จะก่อให้เกิดอันตรายได้



กิจกรรมเสริมประสบการณ์
หน่วย บ้าน (สมาชิกในบ้าน)


คำแนะนำจากอาจารย์ผู้สอน
     - สนทนาเนื้อในเพลง "บ้านของเรามีใครกันบ้าง"
     - ควรให้เด็กๆมาช่วยครูติดความสัมพันธ์ของคนในบ้าน
     - การทำบันทึกผังความสัมพันธ์สมาชิกในบ้าน ต้องมีการวางแผนให้รอบคอบ วางเส้นการเชื่อม
       ความสัมพันธ์ให้ตรง


กิจกรรมเสริมประสบการณ์ 
หน่วย ใต้ร่มเงาไม้ (ปัจจัยการดำรงชีวิต)
วัตถุประสงค์
     1. เด็กปฏิบัติตามคำสั่งของครูได้
     2. เด็กบอกขั้นตอนการปลูกต้นถั่วเขียวและวิธีการดูแลรักษาได้
     3. เด็กบอกการเปลี่ยนแปลงของต้นถั่วเขียวได้   
สาระที่ควรเรียนรู้
ขั้นตอนการปลูกต้นถั่วเขียว
     1. วางกระดาษทิชชู่ไว้ในแก้ว แล้วพรมน้ำให้เปียก
     2. ใช้ช้อนตักเมล็ดถั่วเขียว 4-5 ช้อน แล้วโรยลงในแก้ว
     3. นำกระดาษทิชชู่มาวางทับเมล็ดถั่วเขียวที่ แล้วพรมน้ำให้เปียก
วิธีการดูแลต้นถั่วเขียว
  รดน้ำทุกวันวันละ 3-4 เวลา หรือนำไปไว้ในที่ที่มีแสงแดดเพื่อให้ต้นถั่วเขียวเจริญเติบโต  
ประสบการณ์สำคัญ
ด้านร่างกาย
     - การประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
     - การปฏิบัติตนตามสุขอนามัย
ด้านอารมณ์ – จิตใจ
     - การแสดงออกอย่างสนุกสนานในการกิจกรรม
ด้านสังคม
     - การเล่นและการทำงานร่วมกับผู้อื่น
ด้านสติปัญญา
     - การแสดงความรู้สึกด้วยคำพูด
     - การอธิบายเกี่ยวกับสิ่งของ เหตุการณ์ และความสัมพันธ์ ของสิ่งต่างๆ
     - การทดลองสิ่งต่างๆ     
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
     1. ครูและเด็กร้องเพลง ดูแลรักษาต้นไม้

ต้นไม้จะใหญ่งอกงาม
เราพยายามบำรุงรักษา
รดน้ำ พรวนดิน ถอนหญ้า
ใส่ปุ๋ยนานา กำจัดแมลง เอย

     2. ครูถามเด็กว่าในเพลงนี้มีวิธีการดูแลต้นไม้อย่างไรบ้าง แล้วนอกเหนือจากในเพลงนี้มีวิธีการดูแลรักษาต้นไม้อย่างไรอีกบ้าง แล้วบันทึกลงแบบบันทึกการดูแลต้นไม้   
ขั้นสอน
     3. ครูแนะนำอุปกรณ์และสนทนาถามว่า เด็กๆ รู้จักอุปกรณ์อะไรบ้าง แล้วเด็กๆ คิดว่าจะเอามาทำอะไร
     4. ครูสาธิตขั้นตอนในการปลูกต้นถั่วเขียว และมีตัวอย่างให้ดู โดย ครูจะปลูกต้นถั่วเขียวไว้ 2 กระถาง
         - กระถางที่ 1 ครูเอากระป๋องครอบไว้
         - กระถางที่ 2 ครูจะไม่รดน้ำ แต่ได้รับแสงแดด
     5. ครูแบ่งกลุ่มให้เด็ก กลุ่มละเท่าๆกัน แล้วให้เด็กลงมือปฏิบัติการปลูกต้นถั่วเขียว
     6. ให้เด็กสังเกตการเปลี่ยนแปลงของต้นถั่วงอก และบันทึกการเปลี่ยนแปลง    


ขั้นสรุป
     7. ครูและเด็กร่วมกันสรุปกิจกรรม ขั้นตอนการปลูกต้นถั่วเขียวและวิธีการดูแลรักษา     
สื่อ / แหล่งการเรียนรู้
     - แผ่นชาร์ทเพลง ดูแลรักษาต้นไม้
     - แผ่นชาร์ทอุปกรณ์ในการปลูกต้นถั่วเขียว และขั้นตอนการปลูกต้นถั่วเขียว
     - แผ่นชาร์ทแบบบันทึกการเปลี่ยนแปลงของต้นถั่วเขียว
     - แผ่นชาร์ทบันทึกการดูแลต้นไม้
     - เมล็ดถั่วเขียว
     - ช้อนพลาสติกเล็ก
     - แก้วพลาสติก
     - กระดาษทิชชู่
     - น้ำ    
การประเมิน
สังเกต
     1. การลงมือปฏิบัติตามคำสั่งของครู
     2. การตอบคำถาม และการแสดงความคิดเห็น
การบูรณาการ
     - วิทยาศาสตร์
     - คณิตศาสตร์
     - ภาษา





คำแนะนำจากอาจารย์ผู้สอน
     - เพลงที่นำมาใช้ ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับเนื้อหา
     - ความคิดเห็นที่เด็กเสนอเพิ่มเติม ควรใช้สีอื่นเขียน
     - ขั้นตอนการปลุกถั่วเขียว มีกล่องข้อความและมีลูกศรชี้ (กราฟฟิค)
     - ครูปลูกถั่วเขียว มี 3 กระถาง คือ กระถางที่ 1 รดน้ำ ให้อากาศ ให้แสงแดด กระถางที่ 2 ไม่รดน้ำ 
       ให้อากาศ ให้แสงแดด กระถางที่ 3 ไม่รดน้ำ ไม่ให้อากาศ ไม่ให้แสงแดด เพื่อให้เด็กได้สังเกตว่า
       จะเกิดอะไรขึ้นภายใน 5 วัน (เรียนรู้ปัจจัยในการเจริญเติบโต)
     - เสริมเรื่องการขยายพันธุ์ต้นไม้ มีหลายวิธี คือ ใช้เมล็ด การต่อกิ่ง ติดตา ปักชำ ครูอาจจะนำภาพ
       เป็นชิ้นส่วนจิ๊กซอว์มาให้ติด
     - ขั้นสรุป ครูอธิบายต้นไม้ต้องได้รับอากาศ แสงแดด น้ำ ในการเจริญเติบโต มีวิธีการดูแลคือการ
       พรวนดิน ถอนหญ้า ใส่ปุ๋ย 


ทักษะ / Skills
     - ทักษะการฟัง
     - ทักษะการสอน
     - ทักษะการเขียน
     - ทักษะการสังเกต
     - ทักษะการเชื่อมโยง
     - ทักษะการร้องเพลง
     - ทักษะการต่อยอด
เทคนิคการสอน / Teaching Techniques
     - การให้คำแนะนำ
     - การสาธิต
     - ให้นักศึกษาปฏิบัติด้วยตนเอง
การนำไปประยุกต์ใช้ / Application
     สามารถนำเทคนิคการสอนของเพื่อนแต่ละกลุ่ม ไปปรับปรุงและนำมาปรับใช้ในการต่อยอดได้


การประเมิน / Evaluation
     ประเมินตนเอง    เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการสอน
                                ของเพื่อน
     ประเมินเพื่อน      เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการสอนของเพื่อน
     ประเมินอาจารย์   อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ให้คำแนะนำที่ดีและละเอียดชัดเจน