Welcome to blogger of Miss Prapaporn Sainet.

วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2561

Record 11 
Monday 26 March  2018

เนื้อหาการเรียนการสอน / Teaching content

ทดลองสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ (วันอังคาร) ต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว

แผนกิจกรรมเสริมประสบการณ์
หน่วย สัมผัสทั้ง 5 
วันอังคาร  (หน้าที่ของประสาทสัมผัส)
วัตถุประสงค์
     1.ร่วมสนทนากับครูและเพื่อนได้
     2.ช่วยเหลือตนเองได้
     3.ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของตนเองได้
     4.รู้จักการล้างมือที่ถูกวิธี
     5.ร่วมกิจกรรมด้วยความสนใจ
     6.ร่วมกิจกรรมได้อย่างสนุกสนาน
สาระที่ควรเรียนรู้
     การดมกลิ่น เราดมกลิ่นและรับรู้ได้โดยทางจมูกและส่วนต่างๆของร่างกาย สิ่งของบางอย่างฉุน 
เหม็น หอม 
ประสบการณ์สำคัญ
     1.การสังเกตสิ่งต่างๆ โดยใช้ประสาทสัมผัสด้วยการมอง ฟัง สัมผัส ชิมรสและดมกลิ่นอย่างเหมาะสม
     2.การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น
     3.การแสดงความรู้สึกด้วยการพูด
     4.การพูดกับผู้อื่นเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเอง หรือเรื่องเล่าเกี่ยวกับตนเอง
     5.การเรียงลำดับเหตุการณ์ต่างๆ
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
     1.ครูและเด็กร่วมกัน ร้องเพลง ประสาทสัมผัสทั้ง 5

รู้รสต้องชิมด้วยลิ้น  จมูกดมกลิ่นชื่นใจจริงจริงเอย
หูฟังเสียงเพราะจังเลย (ซ้ำ) หายไปไหนเอ่ย ใช้ตาดู
สิ่งของก็ต้องลองคลำ สองมือขยำ ไม่ลองไม่รู้
ใช้สัมผัสทั้งห้าดู (ซ้ำ) ตา ลิ้น จมูก หู มือคลำ มือคลำ

ขั้นสอน
     2.นำกล่องปริศนา 2 กล่องมาให้เด็กๆดมกลิ่น
     3.ครูและเด็กช่วยกันอภิปรายกลิ่นที่อยู่ในกล่องปริศนาทั้ง 2 กล่อง
ขั้นสรุป
     4.ครูและเด็กร่วมกันสรุปผลจากการทำกิจกรรมการดมกลิ่น
สื่อ / แหล่งการเรียนรู้
     1. กล่องปริศนา (ที่มีกลิ่นต่างๆ)
     2. ชาร์ทเพลง
การประเมิน
สังเกต
     1.การแสดงออกและการพูดคุยของเด็ก
     2.การร่วมกิจกรรม
     3.ความสนใจในการปฏิบัติกิจกรรม



คำแนะนำจากอาจารย์ผู้สอน
     - เด็กๆ คิดว่าในกล่องใบที่ 1 เป็นกลิ่นอะไร และใบที่ 2 กลิ่นอะไร (ความหลากหลายของเด็กต่างกัน)
     - การดมกลิ่นอะไรก็ตาม พยายามอย่าให้เด็กใฃ้จมูกจ่อในการดมกลิ่น
     - เด็กได้ใช้จมูกในการดมกลิ่น , เด็กใช้จมูกในการแยกแยะของกลิ่น
     - เพลงประสาทสัมผัสทั้ง 5 ควรใช้สอนขั้นนำในวันจันทร์
     - วันแรก ให้เด็กๆ รู้จักประสาทสัมผัสทั้ง 5 ว่ามีอะไรบ้าง
     - วันที่ 2 ให้เด็กรู้จักลักษณะของจมูกเป็นอย่างไร ทำหน้าที่อย่างไร (เลือกมา 1 เรื่องที่จะสอน)
     - ขั้นสรุป ทบทวนเรื่องจมูกว่าจมูกมีลักษณะเป็นอย่างไร มีหน้าที่และการดูแลอย่างไร
     - การแจกอุปกรณ์ให้เด็ก ไม่ควรเดินไปแจกให้เด็กถึงที่ ให้ใช้วิธีการส่งต่อ หรือให้เด็กออกมาหยิบ
       แล้วนำไปติดที่บอร์ดหน้าห้อง


แผนกิจกรรมเสริมประสบการณ์
หน่วย อาหารดีมีคุณค่า 
วันอังคาร  (การเลือกซื้ออาหาร)
วัตถุประสงค์
     1.เด็กสามารถตอบคำถามได้
     2. ร่วมกิจกรรมด้วยความสนใจ
     3. เด็กสามารถเปรียบเทียบความเหมือนต่างของมะเขือเทศทั้ง 2 ผลได้
     4. เด็กสามารถแสดงความคิดเห็นได้
สาระที่ควรเรียนรู้
     เปรียบเทียบ มะเขือเทศทั้ง 2 ผล โดยใช้การสังเกต ตาดู จมูกดมกลิ่น มือสัมผัส แล้วบอกลักษณะ
ของมะเขือเทศ
     1.  มะเขือเทศดี มีรูปร่างกลม ผิวเรียบมัน สีแดงสด ผลแข็ง เนื้อภายในฉ่ำด้วยน้ำมีเมล็ดเรียงตัว
เป็นช่องๆ มีเหมือกวุ้นห่อหุ้มเมล็ด
     2.  มะเขือเทศไม่ดี ผลมีจุดสีน้ำตาลออกดำหลายจุด บริเวณนั้นเหี่ยวย่นลงไป ผลเหี่ยวย่นไม่แข็ง
ประสบการณ์สำคัญ
ด้านร่างกาย
     - ใช้กล้ามเนื้อเล็ก ออกแรงกด จิ้ม บีบ
ด้านอารมณ์-จิตใจ
     - มีอารมณ์ร่วมในกิจกรรมที่ทำ
     - สนใจในกิจกรรม
ด้านสังคม
     - ร่วมกันแสดงความคิดเห็น
     - การรอคอย
     - ร่วมกันตอบคำถาม
ด้านสติปัญญา
     - การเปรียบเทียบ
     - การสังเกต
     - การตอบคำถาม
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
     1. ครูและเด็กร่วมกันท่องคำคล้องจอง  อาหารของเรา

                   อาหารของเรา      ต้องเอาใจใส่
               กินผักผลไม้             กินไข่กินนม
               กินเนื้อกินปลา         แทนยาขมขม
               กินข้าวกินขนม        อบรมเรื่องกิน

     2. ครูสนทนาถึงเนื้อหาในคำคล้องจอง
         - ในคำคล้องจองนี้ เรากินอะไรบ้าง
ขั้นสอน
     3.  ครูสนทนากับเด็กถึงวิธีการเลือกซื้ออาหาร
           - เรามีวิธีเลือกอาหารของเราอย่างไรบ้าง แล้วนำตัวอย่างคือ มะเขือเทศออกมาให้ดู 2 ผล 
ให้เด็กเปรียบเทียบ
     4. ให้เด็กๆเปรียบเทียบมะเขือเทศทั้ง 2 ผล คือ มะเขือเทศดีกับมะเขือเทศไม่ดี ว่ามีลักษณะแตกต่าง
กันอย่างไร โดยใช้การสังเกตจาก ตาดู จมูกดมกลิ่น  มือสัมผัส แล้วใช้คำถามดังนี้
          - จากการดู เด็กๆเห็นว่ามะเขือเทศมีลักษณะอย่างไร (ดูทีละผลแล้วบอก สี รูปทรง ส่วนประกอบ
ของมะเขือเทศ  )
          - จากการดมกลิ่น เด็กๆได้กลิ่นมะเขือเทศเป็นอย่างไร (ดมทีละผลแล้วบอกลักษณะของกลิ่น)
          - จากการสัมผัส เด็กๆ รู้สึกอย่างไร  (สัมผัสทีละผลแล้วบอกลักษณะผิวของมะเขือเทศ)
ขั้นสรุป
     5. ครูและเด็กร่วมกันสรุปความเหมือนต่างของมะเขือเทศทั้ง 2 ผล ในรูปแบบ Venn diagram
สื่อ / แหล่งการเรียนรู้
     1. แผ่นชาร์จคำคล้องจอง อาหารของเรา
     2. มะเขือเทศ 2ผล คือ มะเขือเทศดีกับมะเขือเทศไม่ดี
     3. แผ่นชาร์จวิเคราะห์ข้อมูล
     4. แผ่นชาร์จ Venn Diagram
การประเมิน
สังเกต
     1. การสนทนาการตอบคำถาม
     2. การความสนใจร่วมทำกิจกรรม
     3. เปรียบเทียบความเหมือนต่างของมะเขือเทศ ทั้ง 2 ผล
     4. การแสดงความคิดเห็น
การบูรณาการ
     - คณิตศาสตร์
     - วิทยาศาสตร์



คำแนะนำจากอาจารย์ผู้สอน
     - การสอนเรื่องอาหารต้องมีถุงใบเล็กๆใส่อาหาร ไว้ให้เด็กได้สังเกต
     - ต้องมีตัวเลขกำกับ
     - การแยกประเภทอาหาร ของคาว ของหวาน ใช้เกณฑ์อาหารของคาวเป็นหลัก
     - การเลือกอาหารต้องเป็นอาหารที่สุก ไม่มีกลิ่นเสีย ไม่ใส่สารเคมี
     - นำอาหาร 2 อย่าง มาให้เด็กสังเกตและเลือก แล้วบันทึกลงตารางวิเคราะห์ข้อมูล
       ระหว่าง อาหารที่ควรกินกับอาหารที่ไม่ควรกิน
     - ขั้นสรุป ทำไมถึงเลือกกินอาหารที่สุก เพราะอาหารสุกมีประโยชน์ต่อร่างกาย


แผนกิจกรรมเสริมประสบการณ์
หน่วย ผีเสื้อ 
วันอังคาร  (ลักษณะของผีเสื้อ)


คำแนะนำจากอาจารย์ผู้สอน
     - การร้องเพลงเก็บเด็กควรใช้เพลงเดียวไม่ควรใช้หลายเพลง และให้เด็กร้องตามไปด้วย
     - ภาพผีเสื้อที่เตรียมมาให้เด็กสังเกต ต้องมีขนาดใหญ่และละเอียด
     - หารสังเกตผีเสื้อใบลัก มีรูปร่าง สี ส่วนประกอบอะไรบ้าง
     - การใช้สัญลักษณ์กำกับเรื่องสี ไม่ควรใช้รูปทรงกำกับ เช่น รูปทรงสี่เหลี่ยม รูปทรงสามเหลี่ยม
       ควรใช้การฝนของสี
     - การใช้สัญลักษณ์กำกับเรื่องรูปทรง ไม่ควรใช้ภาพที่สัญลักษณ์ภาพที่มีสี
     - ถ้าผีเสื้อที่เป็นประเภทเดียวกัน สามารถเปรียบเทียบขนาดของผีเสื้อได้
     - การออกแบบตารางเปรียบเทียบความเหมือนความต่าง ควรออกแบบให้มีขนาดใหญ่และเขียน
       รายละเอียดลงไปด้วย เช่น ตา = 2  หนวด = 2  ปีก = 2  ขา = 6   ปาก = 1  ลำตัว = 1



แผนกิจกรรมเสริมประสบการณ์
หน่วย บ้าน 
วันอังคาร  (ลักษณะของบ้าน)



คำแนะนำจากอาจารย์ผู้สอน
     - ภาพที่จะให้เด็กสังเกตต้องมีขนาดใหญ่ รายละเอียดของภาพต้องชัดเจน
     - ส่วนประกอบของบ้าน เอาไว้หัวข้อสุดท้ายของตารางวิเคราะห์ข้อมูล
     - เด็กๆ ต้องวิเคราะห์ว่าบ้านหลังไหนที่ใช้เวลาในการสร้างบ้านนานมากที่สุด และบ้านหลังไหน
       ใช้เวลาสร้างบ้านน้อยที่สุด
     - รายละเอียดของตารางวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย วัสดุที่ใช้สร้างบ้าน , เวลาในการสร้างบ้าน ,
       ส่วนประกอบของบ้าน
     - ขั้นสรุป สรุปเหมือนกัน แต่ต้องสรุปไปทีละส่วน


แผนกิจกรรมเสริมประสบการณ์
หน่วย ตัวฉัน (วันอังคาร)
วัตถุประสงค์
     1เด็กบอกชื่อ วันเกิด อายุ ของตนเองได้
     2. ร่วมสนทนากับครูและเพื่อนได้
     3. มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง
     4. บอกความแตกต่างของตนเองและผู้อื่นได้  
สาระที่ควรเรียนรู้
     - ฉันมี ชื่อ มีวันเกิด และอายุ
ประสบการณ์สำคัญ
ด้านร่างกาย
     1. การประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
ด้านอารมณ์ จิตใจ
     2. การร่วมกิจกรรมด้วยความสนุกสนาน
ด้านสังคม
     3. การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น
ด้านสติปัญญา
    4. การใช้ภาษาในการตอบคำถาม
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
     1. ครูเล่านิทาน โดยมีหุ่นเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิงพูดคุยกัน เกี่ยวกับชื่อ วันเกิด อายุ ของตนเอง
     2. ครูและเด็กร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับนิทานด้วยการถามคำถามและตอบคำถาม 
ขั้นสอน
     3. ครูและเด็กพูดคุยกันเกี่ยวกับชื่อ โดย แจกบัตรชื่อของแต่ละคน ให้เด็กสังเกตว่า ชื่อของใคร 
ขึ้นต้นด้วย พยัญชนะ ก. ให้เด็กยกมือ ขึ้นต้นด้วย พยัญชนะ....... (ครูจะสำรวจมาแล้ว)................
     4. ครูนำตารางเดือนใน1ปี ให้เด็กๆดูและอ่านทบทวนแต่ละเดือน
     5. ให้เด็กที่เกิดเดือนมกราคมนำแผ่นชื่อมาติดที่ช่องเดือนมกราคม  ตรงกับวันเกิด..........ให้เด็ก
ที่เกิดเดือนกุมภาพันธ์นำแผ่นชื่อมาติดที่ช่องเดือนกุมภาพันธ์ ตรงกับวันเกิด.....................ทำต่อไป
จนถึงเดือนธันวาคม    


ขั้นสรุป
     6. ครูและเด็กๆร่วมกันสรุปรายชื่อผู้มีวันเกิดในแต่ละเดือน
สื่อ / แหล่งการเรียนรู้
     1หุ่นเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิง
     2. ตารางวิเคราะห์
     3. บัตรชื่อ     
การประเมิน
     - ฟังจากการสนทนาโดยบอกชื่อและวันเกิดของตนเองได้ 
     - สังเกตการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและครู



คำแนะนำจากอาจารย์ผู้สอน
     - เวลาสอนไม่ควรให้เด็กออกมาสาธิตให้เพื่อนดู เพราะทำให้เด็กบางคนมีปมด้วยในตัวเอง 
       ควรมีรูปภาพให้เด็กสังเกต
     - เพลงต้องเลือกให้เหมาะสม หรือเลือกเพลงจากประสบการณ์เดิม
     - ความแตกต่างของร่างกายของเด็กผู้หญิงกับเด็กผู้ชาย เด็กผู้ชายไม่มีความแตกต่างไปจาก
       เด็กผู้หญิง เพราะมีอวัยวะร่างกายเหมือนกัน
     - ถ้าไม่มีสื่อรูปภาพ ให้นำชื่ออวัยวะไปติดตามลูกศรข้างนอกวง


ทักษะ / Skills
     - ทักษะการฟัง
     - ทักษะการทำกิจกรรม
     - ทักษะการสอน
     - ทักษะการคิดวิเคราะห์
     - ทักษะการคิดสังเคราะห์
     - ทักษะการนำเสนอข้อมูล
     - ทักษะการพูด
     - ทักษะการคิดความต่าง
เทคนิคการสอน / Teaching Techniques
     - การให้คำแนะนำ
     - การสาธิต
     - การยกตัวอย่าง
การนำไปประยุกต์ใช้ / Application 
     สามารถนำเทคนิคการสอนของเพื่อนโดยมีข้อเสนอะแนะจากอาจารย์ผู้สอน ไปปรับใช้ และเป็นแนวทาง เป็นตัวอย่างในการสอนที่ถูกต้อง


 การประเมิน / Evaluation
     ประเมินตนเอง    เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำกิจกรรมและให้ความร่วมมือกับเพื่อน
     ประเมินเพื่อน      เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนตั้งใจทำกิจกรรม และให้ความร่วมมือ
     ประเมินอาจารย์   อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ให้คำแนะนะ และเปิดโอกาส
                                 ให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติการสอนด้วยตนเอง


คำศัพท์ / Vocabulary
      คำคล้องจอง  = Rhyme
นิทาน             = Tale
ความแตกต่าง = Difference
สัมผัสทั้ง 5     = Touch all 5
หน้าที่            = Duty

วันอังคารที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2561

Record 10
Monday 19 March  2018

เนื้อหาการเรียนการสอน / Teaching content

     การเรียนการสอนในวันนี้ ทดลองสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ วันอังคาร ของแต่ละหน่วย

แผนกิจกรรมเสริมประสบการณ์  
หน่วย ใต้ร่มเงาไม้    
วันจันทร์ (ชนิดของต้นไม้)
วัตถุประสงค์
     1. เด็กบอกชื่อต้นไม้ได้อย่างน้อย 5 ชนิด
     2. เด้กจัดประเภทของต้นไม้ได้
     3. เด็กนับจำนวนต้นไม้โดยใช้เลขฮินดูอารบิคกำกับได้
     4. เด็กตอบคำถามได้
สาระที่ควรเรียนรู้ 
    ต้นไม้มีหลายชนิด แต่ละชนิดมีชื่อเรียกแตกต่างกัน ได้แก่ ต้นคูณ ต้นหูกวาง ต้นอินทนิล ต้นมะม่วง 
ต้นมะลิ ต้นเข็ม ต้นข่อย
ประสบการณ์สำคัญ
ด้านร่างกาย
     1. การเคลื่อนไหวอยู่กับที่
ด้านอารมณ์และจิตใจ
     2. การแสดงออกอย่างสนุกสนาน
ด้านสังคม
     3. การเเลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ด้านสติปัญญา
     4. การรู้จักสิ่งต่างๆด้วยการมอง ฟัง สัมผัส ชิมรส ดมกลิ่น
     5. การพูดคุยเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเอง
     6. การสำรวจความเหมือนความต่างของสิ่งต่างๆ
     7. การนับโดยใช้ตัวเลขฮินดูอารบิคกำกับ
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ   
     1. เด็กและครูอ่านคำคล้องจองต้นไม้ร่วมกัน 
"ต้นไม้ปลูกไว้อาศัยร่มเงา      ต้นสะเดา ต้นมะม่วง ต้นไผ่ 
หูกระจงตีนเป็ด และต้นไทร    ต่างก็ให้ประโยชน์แก่พวกเรา"
     2. ครูถามเด็กว่าในคำคล้องจองนี้เด็กรู้จักต้นไม้อะไรบ้าง แล้วบันทึก ถามต่อว่านอกจากคำคล้องจองเด็กๆรู้จักต้นไม้อะไรอีกบ้าง
ขั้นสอน 
     3. ครูนำรูปต้นไม้ออกมาให้เด็กดูทีละต้น ถามเด็กๆว่ามีต้นอะไรบ้าง นำออกมานับใส่เลขฮินดูอารบิคกำกับ (ต้นคูณ ต้นหูกวาง ต้นอินทนิล ต้นมะม่วง ต้นมะลิ ต้นเข็ม ต้นข่อย)
     4. นำต้นไม้ออกมาจัดกลุ่มโดยใช้เกณฑ์ไม้ยืนต้น เป็นไม้ขนาดใหญ่ ใช้ปลูกเพื่อเป็นร่มเงาและบังฝุ่น ให้เด็กๆช่วยกันสังเกตว่ามีต้นไม้ที่เป็นไม้ยืนต้นอีกบ้าง ให้เ็ดๆจับแยกออกมา กลุ่มที่เหลือไม่ใช่ไม้ยืนต้น เราเรียกมันว่า ไม้พุ่ม
     5. นับดูว่าต้นไม้กลุ่มไหนมีจำนวนมากกว่ากัน นับ 1 ต่อ 1
ขั้นสรุป 
     6. ถามเด็กๆว่าวันนี้เด็กๆได้รู้จักต้นไม้อะไรบ้าง
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
    - แผ่นชาร์ตคำล้องจองต้นไม้
    - แผ่นบันทึกชื่อต้นไม้ที่เด็กรู้จัก
    - รูปภาพต้นไม้ 7 ต้น
    - ตัวเลขฮินดูอารบิค
การวัดและประเมินผล
สังเกตจาก
     1. การสนทนาถามเด็ก
     2. กระบวนการขณะเด็กทำกิจกรรมจัดประเภทต้นไม้
     3. กิจกรรมการนับจำนวนและใช้เลขฮินดูอาบิคกำกับได้ถูกต้อง
การบูรณาการ
    - คณิตศาสตร์
    - วิทยาศาสตร์
    - ภาษา

แผนกิจกรรมเสริมประสบการณ์
วันอังคาร (ลักษณะของต้นไม้)
วัตถุประสงค์
     1. เพื่อให้เด็กบอกส่วนประกอบ ลักษณะ ขนาด สี รูปร่างของต้นไม้ได้
     2. เพื่อให้เด็กร่วมสนทนากับครูได้
     3. เด็กร่วมกิจกรรมด้วยความสนุกสนาน
     4. เด็กใช้กราฟฟิคในการนำเสนอการคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่างของต้นไม้ได้
สาระที่ควรรู้
    ต้นไม้แต่ละชนิดมีลักษณะ ของขนาด สี รูปร่าง และส่วนประกอบเหมือนและแตกต่างกัน
ประสบการณ์สำคัญ
ด้านร่างกาย
     1. การประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
ด้านอารมณ์ – จิตใจ
     2. การร่วมกิจกรรมด้วยความสนุกสนาน
ด้านสังคม
     3. การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น
ด้านสติปัญญา
     4. การคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล
     5. การใช้ภาษาในการตอบคำถาม
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ    
     1. ครูร้องเพลง ให้เด็กๆ หลับตา จากนั้นครูแจกชิ้นส่วนจิ๊กซอว์ให้เด็กตัวแทนออกมาต่อเป็นรูป
  2. จากภาพที่สมบูรณ์ครูและเด็กร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับชนิดของต้นไม้ด้วยการถามคำถาม 
และตอบคำถาม
ขั้นสอน  
     3. ครูให้เด็กดูรูปต้นไม้ต้นที่ 1 ครูให้เด็กๆ สังเกต ลักษณะ เช่น ขนาด สี รูปร่างและส่วนประกอบ ของต้นไม้ แล้วบอกครูว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร จากนั้นครูบันทึกลงตารางวิเคราะห์



     4. ครูให้เด็กดูรูปต้นไม้ต้นที่ 2 ครูให้เด็กๆ สังเกตลักษณะ เช่น ขนาด สี รูปร่างและส่วนประกอบ ของต้นไม้ แล้วบอกครูว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร จากนั้นครูบันทึกลงตารางวิเคราะห์


     5. ครูและเด็กร่วมกันสรุปสิ่งที่เหมือนกัน และแตกต่างกันลงในไดอะแกรมวงกลม
     6. ครูและเด็กร่วมกันสรุปจากไดอาแกรมวงกลมให้เป็นความเรียง
ขั้นสรุป   
     7ครูและเด็กร่วมกันสรุปลักษณะของต้นไม้และความเหมือนต่างอีกครั้ง
สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
     - จิ๊กซอว์รูปต้นไม้
     - รูปต้นไม้ (ต้นมะม่วง,ต้นเข็ม)
     - ป้ายกำกับชื่อต้นไม้ (ต้นมะม่วง,ต้นเข็ม)
     - ตารางวิเคราะห์
     - ไดอาแกรมวงกลม
การประเมิน
การสังเกตจาก
     1. การตอบคำถามขณะทำกิจกรรม
     2. การแสดงออกขณะทำกิจกรรม
การบูรณาการ
    - คณิตศาสตร์
    - วิทยาศาสตร์
    - ภาษา
    - การใช้เครื่องมือ เทคโนโลยี






คำแนะนำจากอาจารย์ผู้สอน
     - การให้เด็กนั่งเป็นรูปตัว U ครูต้องระวังให้เด็กทุกคนอยู่ในสายตาของครู
     - ส่วนประกอบของต้นไม้ ไว้ส่วนท้ายของตารางวิเคราะห์ข้อมูล
     - การดูรูปทรงของต้นไม้ ดูจากการลากเส้นกรอบของรูปร่างต้นไม้ทั้งหมด
     - ลักษณะของต้นไม้ควรมีสัญลักษณ์หรือรูปภาพกำกับในการบันทึกข้อมูล
     - การบันทึกข้อมูล ควรจัดระบบในการเขียนให้เรียบร้อย
     - การเลือกรูปต้นไม้ ควรเลือกรูปที่ชัดเจน ดูง่ายและไม่เยอะ
     - ควรนำต้นไม้ที่เป็นของจริงมาให้เด็กได้สังเกต เป็นต้นไม้ที่สามารถหาได้ง่ายๆ
     - การใช้ภาพจิ๊กซอว์ในขั้นนำ ต้องสอดคล้องกับเรื่องที่จะสอน


แผนกิจกรรมเสริมประสบการณ์
หน่วย ผลไม้เพื่อสุขภาพ 
วันอังคาร  (ลักษณะของผลไม้)
วัตถุประสงค์
     1. เด็กสนทนาแสดงความคิดเห็นและตอบคำถามได้               
     2. เด็กอธิบายลักษณะและส่วนประกอบของผลไม้ได้
สาระที่ควรเรียนรู้
     ผลไม้แต่ละชนิดมีลักษณะที่เหมือนและแตกต่างกัน เช่น สี รูปร่าง ผิว กลิ่น รส
ประสบการณ์สำคัญ
ด้านอารมณ์-จิตใจ
     1. การแสดงความรู้สึกสนุกสนานกับเรื่องราว 
ด้านสังคม                       
     2. แสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดของผู้อื่น
ด้านสติปัญญา                          
     3. การสังเกต/อธิบายรูปร่าง ลักษณะ ส่วนประกอบของผลไม้
     4. การจำแนกเปรียบเทียบลักษณะของผลไม้
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
     1.ครูให้เด็กอ่านคำคล้องจองผลไม้
ฝรั่ง มังคุด ละมุด พุทรา
อีกทั้ง น้อยหน่า หนูจ๋า น่าทาน
ลำไย แตงโม ผลโต รสหวาน
น่ารับประทาน หอมหวาน ชวนชม
ขั้นสอน
     2.ครูนำส้มและองุ่นมาให้เด็กๆ ดูและอธิบายส่วนประกอบของส้มและองุ่น
     3. ครูนำส้มและองุ่นใส่จานมาให้เด็กๆ ดูโดยครูให้สังเกตลักษณะของสี รูปร่าง ผิว กลิ่น รสของผลไม้ทั้ง 2 ชนิด                                         
     4. ครูถามเด็กๆ เกี่ยวกับลักษณะของผลไม้ทั้ง 2 ชนิด พร้อมกับเขียนลงแผ่นชาร์ตตารางเปรียบเทียบส้มกับองุ่น




     5. เปรียบเทียบลักษณะความเหมือนและความแตกต่างของส้มและองุ่นลงในไดอะแกรม
ขั้นสรุป
     6. คุณครูและเด็กร่วมกันบอกสิ่งที่เหมือนและแตกต่างกันของ ส้มและองุ่น
สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
     - คำคล้องจองผลไม้
     - ส้มและองุ่น
     - ตารางเปรียบเทียบลักษณะความเหมือนความต่าง
การประเมิน
สังเกต
     1. การสนทนาแสดงความคิดเห็นและตอบคำถาม              
     2. การอธิบายลักษณะและส่วนประกอบของผลไม้





คำแนะนำจากอาจารย์ผู้สอน
     - ก่อนเริ่มการสอน ครูควรเก็บเด็กให้สงบก่อน
     - การใช้ศัพท์เรียกลักษณะของผลไม้ ให้ใช้คำว่า รูปทรง
     - เรียกลักษณะผิวเปลือกของผลไม้ได้ด้วย เช่น ผิวเรียบ (สัญลักษณ์คือ เส้นตรง)  
       ผิวหยาบ (สัญลักษณ์คือ เส้นหยัก)
     - การเขียนบันทึกข้อมูลควรจัดระบบในการเขียนให้เรียบร้อย
     - การนำสื่อมาสอนของวันอังคาร ต้องสอดคล้องกับเรื่องที่สอนในวันจันทร์


ทักษะ / Skills
     - ทักษะการฟัง
     - ทักษะการทำกิจกรรม
     - ทักษะการสอน
     - ทักษะการคิดวิเคราะห์
     - ทักษะการคิดสังเคราะห์
     - ทักษะการนำเสนอข้อมูล
     - ทักษะการพูด
     - ทักษะการคิดความต่าง
ทคนิคการสอน / Teaching Techniques
     - การให้คำแนะนำ
     - การสาธิต
     - การยกตัวอย่าง
การนำไปประยุกต์ใช้ / Application 
     สามารถนำเทคนิคการสอนของเพื่อนโดยมีข้อเสนอะแนะจากอาจารย์ผู้สอน ไปปรับใช้ และเป็นแนวทาง เป็นตัวอย่างในการสอนที่ถูกต้อง


การประเมิน / Evaluation
     ประเมินตนเอง    เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำกิจกรรมและให้ความร่วมมือกับเพื่อน
     ประเมินเพื่อน      เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนตั้งใจทำกิจกรรม และให้ความร่วมมือ
     ประเมินอาจารย์   อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ให้คำแนะนะ และเปิดโอกาส
                                ให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติการสอนด้วยตนเอง


คำศัพท์ / Vocabulary
     กิจกรรมเสริมประสบการณ์   =  Experience Activities
     ประสบการณ์สำคัญ   = Important experience
     การวิเคราะห์             = Analysis
     ตารางไดอะแกรม     = Table diagram
     การเปรียบเทียบ       = Comparison